ไขข้อสงสัยประกัน OPD และ IPD คืออะไรควรเลือกแบบไหนดี
19 พฤษภาคม 2022
ผู้ชม: 21639 คน

ประกัน OPD กับ IPD ต่างกันอย่างไรเลือกแบบไหนดี

 

เรื่อง “สุขภาพ” เป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามความสำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ แต่บางครั้งโรคภัยไข้เจ็บก็อาจเข้ามาทักทายเราได้โดยไม่ทันตั้งตัว รู้ตัวอีกทีก็ป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลเสียแล้ว ซึ่งหากใครที่มี ประกันสุขภาพ ก็คงจะไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป เพราะสามารถเคลมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ โดยในการใช้ประกันสุขภาพสำหรับเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนั้น จะมีการแบ่งเป็นประกัน OPD กับ IPD แล้วสองคำนี้หมายความว่าอะไร เราควรทำประกันสุขภาพไหม เลือกแบบไหนถึงจะดี วันนี้ TIPINSURE มีคำตอบมาฝากกัน

 

ประกัน OPD คืออะไร

OPD หรือ Out-Patient-Department หมายถึง ผู้ป่วยนอก ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลแบบไปแล้วกลับ ไม่ต้องแอดมิทนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือมีอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงมากนัก เช่น ไข้หวัด ปวดหัว ไอ แพ้อากาศ มีผดผื่นคัน เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องรอดูอาการ เพียงแค่รับยาก็กลับบ้านได้เลย 


ทั้งนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าหากประกันสุขภาพที่เลือก เป็น ประกัน OPD จะยังทำประกันสุขภาพดีไหม แล้วจะคุ้มค่าหรือเปล่า TIPINSURE ก็ขอบอกเลยว่า การทำประกันสุขภาพไว้ ยังไงก็ดีกว่าไม่มีแน่นอน ซึ่งประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก หรือ OPD คือประกันที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยนอก ทั้งค่ายา ค่ารักษาพยาบาล และค่าปรึกษาแพทย์

 

ประกันสุขภาพ IPD คืออะไร

IPD หรือ In-Patient-Department หมายถึง ผู้ป่วยใน ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง หรือมีอาการป่วยหนัก ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น ให้น้ำเกลือ หรือ เข้ารับการผ่าตัด โดยผู้ป่วยในจะต้องได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ 

 

ซึ่งการเลือกทำประกันสุขภาพ IPD หรือ ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน ส่วนใหญ่จะให้ความคุ้มครองอื่น ๆ นอกจากค่ารักษาพยาบาล เช่น ค่าปรึกษาแพทย์ ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่าบริการใช้ห้องผ่าตัด ค่าเอกซเรย์ ค่าตรวจทางชีวเคมี ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด ค่ารถพยาบาล ค่าเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ รวมถึงยังมีค่าชดเชยจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกด้วย

 

ประกัน OPD และประกัน IPD เลือกแบบไหนดี

ก่อนที่เราจะเลือกทำประกันสุขภาพ ควรตัดสินใจให้ดีว่า ประกันสุขภาพ แบบไหน ตอบโจทย์กับสุขภาพของเรามากที่สุด หากเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ค่อนข้างบ่อย ก็อาจเลือกเป็น ประกันสุขภาพ OPD หรือ ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก ที่สามารถเข้ารับการรักษาแบบไปแล้วกลับ ไม่ต้องแอดมิท หรือหากต้องการความอุ่นใจมากขึ้น ประกันสุขภาพ IPD หรือ ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน ก็ให้ความคุ้มครองได้มากกว่า โดยเฉพาะเวลาที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือจะเลือกทำประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุมการรักษาทั้ง 2 แบบไปเลย ก็ยิ่งดีสุด ๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับแผนประกัน เบี้ยประกัน วงเงินความคุ้มครองที่ได้รับ รวมถึงเงื่อนไขและข้อยกเว้นต่าง ๆ ให้ดีเสียก่อน

 

ถ้ามี ประกันสังคมอยู่แล้ว ควรทำประกันสุขภาพไหม

สำหรับมนุษย์เงินเดือน พนักงานประจำ หรือผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลอยู่แล้ว อาจเกิดความสงสัยว่า ควรทำประกันสุขภาพไหม ซึ่งความจริงแล้วแม้ว่าเราจะสามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลจากประกันสังคมได้ แต่ก็จะได้รับเพียงสิทธิการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานเท่านั้น อีกทั้งยังมีข้อจำกัดกว่าประกันสุขภาพ โดยเฉพาะวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับอาจไม่เพียงพอ แถมบางโรงพยาบาลยังต้องรอคิวนาน ๆ กว่าจะได้รับการรักษาก็ปาไปครึ่งค่อนวัน ต่างจากการทำประกันสุขภาพ ที่สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการได้รวดเร็วกว่า นอกจากนี้ ผู้ใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคม จะสามารถใช้สิทธิได้เฉพาะในโรงพยาบาลที่เลือกไว้เท่านั้น ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน จึงสามารถใช้สิทธิในโรงพยาบาลอื่นได้ แต่หากมี ประกันสุขภาพ สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเครือทั่วประเทศได้เลย โดยสามารถเลือกซื้อได้ทั้ง ประกัน OPD ประกันสุขภาพ IPD หรือ ประกันสุขภาพที่คุ้มครองครบทั้ง OPD และ IPD

 

เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่า ประกัน OPD กับ IPD คืออะไร หากใครที่กำลังลังเลว่า ทำประกันสุขภาพที่ไหนดี หรือถ้ามีประกันสังคมอยู่แล้ว อยากทำประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ควรทำประกันสุขภาพไหม ก็คงช่วยให้ใครหลายคนสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะคะ แต่อย่างไรก็ดี การทำประกันสุขภาพ ควรเลือกที่เหมาะสมและครอบคลุมความเสี่ยงด้านสุขภาพของเราให้มากที่สุด หรือหากใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือก ประกันสุขภาพ แบบไหนดีละก็ สามารถ เช็กราคาประกันสุขภาพ หรือ เปรียบเทียบประกันสุขภาพ ได้ง่ายๆ ที่ www.tipinsure.com

 

#Tag: