เฝ้าระวังหน้าฝน! โรคไข้เลือดออก ภัยร้ายจากยุงลาย
02 สิงหาคม 2021
ผู้ชม: 16746 คน

 

เฝ้าระวังหน้าฝน! โรคไข้เลือดออก ภัยร้ายจากยุงลาย

               โรคไข้เลือดออก เรียกว่าเป็นโรคสามัญประจำฤดูฝนไปแล้ว เพราะช่วงเวลาที่ฝนตกจะเกิดน้ำขังหลายจุด กลายเป็นจุดเพาะพันธุ์ให้กับยุงได้เป็นอย่างดี เมื่อยุงไปกัดคนจะนำเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่าเดงกีไปติด ทำให้คนที่ติดเชื้อมีไข้สูงเฉียบพลันสูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องกัน 2-7 วัน มีจุดแดงตามผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรือเจ็บบริเวณชายซี่โครงขวา นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ เพิ่มเติมเช่นเลือดกำเดาไหล อุจจาระมีเลือดปน หรือภาวะช็อก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ถึงแม้โรคไข้เลือดออกจะมีการพูดถึงและหาทางป้องกันอยู่เป็นประจำ ก็ยังพบว่ามีผู้ติดเชื้ออยู่เสมอและมีคนเสียชีวิตทุกปี โดยในปี 2563 มีอัตราผู้ติดเชื้อถึง 71,293 คน ซึ่งเป็นอัตราป่วยที่เพิ่มขึ้นจากปี 2562 กว่า 100% เลยทีเดียว

               ยิ่งปัจจุบันมีเชื้อไวรัสต่างๆ มากมายยิ่งต้องคอยระมัดระวังเป็นพิเศษ หมั่นสังเกตอาการของตนเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับโรคไข้เลือดออกกันให้มากขึ้น

  • กลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นโรคไข้เลือดออก

               กรมควบคุมโรค ได้ออกมาเผยข้อมูลว่า อายุที่ติดเชื้อเยอะที่สุดเป็นกลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี และปัจจุบันกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่พบการติดเชื้อมากที่สุด และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ที่ไวต่อการรับเชื้อได้ง่าย ดังนี้

1.เด็กทารกและผู้สูงอายุ

2.หญิงตั้งครรภ์

3.ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างมีประจำเดือนหรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

4.ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

5.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรคหัวใจขาดเลือด ไตวาย ตับแข็ง

  •  โรคไข้เลือดออกแบ่งความรุนแรงได้ถึง 3 ระดับ

               โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อที่มีชื่อว่า ไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมีพาหะนำโรคมาจากยุง ผู้ติดเชื้อมักมีการแสดงอาการต่างกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่ได้รับเชื้อไวรัส ซึ่งความรุนแรงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1.ไข้เดงกี (Dengue fever; DF) อาการระดับแรก

1.1 ไข้สูง

1.2 ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

1.3 ปวดข้อ/ปวดกระดูก

1.4 มีผื่น

1.5 อาการเลือดออกตามผิวหนัง

2.ไข้เลือดออกเดงกี (Dengue hemorrhagic fever; DHF) อาการระดับสอง

2.1 ไข้สูง

2.2 มีตับโต และมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด หรือ น้ำในช่องท้อง

2.3 คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร

2.4 หน้าแดง อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่น เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะ อุจจาระมีเลือดปน

2.5 ปวดท้องอย่างรุนแรง กดเจ็บชายโครงด้านขวา

2.6 ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจเกิดอาการไข้เลือดออกช็อก (dengue shock syndrome) โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปัสสาวะน้อยลง ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ วัดชีพจรไม่ได้

3. ไข้ ไข้เลือดออกเดงกีช็อก (Dengue shock syndrome ; DSS) อาการระดับสาม

3.1 มีภาวะช็อก

3.2 ความดันโลหิตต่ำ

3.3 มือเท้าเย็น ความรู้สึกตัวลดลง

3.4 มีเลือดออกผิดปกติรุนแรง

3.5 ภาวะตับวาย ไตวาย

3.6 การหายใจล้มเหลว

3.7 ไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

  • การรักษาไข้เลือดออก

                ปัจจุบันยังไม่มียาต้านโรคไข้เลือดออกได้โดยตรง จะเป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น อย่างไรก็ตามโรคไข้เลือดออกสามารถหายได้เองภายใน 2-7 วัน หากไม่แน่ใจหรือมีอาการที่หนักขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

1.การดูแลอาการเบื้องต้น ผู้ป่วยควรดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำเกลือแร่เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

2.เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดไข้เป็นระยะ

3.รับประทานอาหารอ่อน

4.อาจรับประทานยาลดไข้ เช่น ยาพาราเซทตามอล

5.ห้ามรับประทานยาแอสไพรินและยากลุ่ม NSAID

6.ในรายที่อาการไม่รุนแรง โรคไข้เลือดออกอาจหายได้เองภายใน 2-7 วัน

7.วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก CYD-TDV ได้ผ่านการรับรองแล้ว เมื่อฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกเดงกีครบ 3 เข็ม

  • แนวทางการป้องกันเพื่อห่างไกลความเสี่ยงติดเชื้อ

โรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้ง่ายๆ เพียงหมั่นตรวจเช็คสถานที่ต่างๆ ที่อาจเป็นจุดกำเนิดของยุง

1.ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำต้องมีฝาปิดให้มิดชิด

2.ใช้ทรายกำจัดลูกน้ำใส่ในภาชนะขังน้ำ

3.ทำลายภาชนะที่ไม่จำเป็นเพราะอาจมีน้ำขังได้

4.ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูงในภาชนะที่มีน้ำขังขนาดใหญ่

5.เปลี่ยนน้ำในภาชนะเล็กๆ เช่น แจกันทุก 7 วัน

6.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านและรอบบ้านให้เป็นระเบียบ

               สำหรับคนกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงได้ยาก อาทิ อาศัยใกล้แหล่งน้ำ ใกล้ป่า หรือมีสวนในบริเวณบ้าน อาจจะต้องระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ หรือหาตัวช่วยเสริมความอุ่นใจอย่างประกันภัยไข้เลือด จะได้รับค่ารักษาพยาบาลสูงสุดถึง 75,000 บาท* และได้รับเงินชดเชยรายวันขณะที่เข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสูงสุดนาน 30 วันต่อครั้ง ในราคาเริ่มต้นเพียง 160 บาทต่อปีเท่านั้น เช็คราคาและซื้อออนไลน์ได้เลยที่ https://bit.ly/3fuu6GQ

 

#Tag: