สรุปให้! วิธีตรวจโควิดแต่ละแบบแตกต่างกันยังไง
16 สิงหาคม 2021
ผู้ชม: 1054 คน

 

สรุปให้! วิธีตรวจโควิดแต่ละแบบแตกต่างกันยังไง

              เมื่อสถานการณ์การติดเชื้อ COVID -19 เข้ามาใกล้ตัวมากกว่าที่คิด การป้องกันไม่ให้ตัวเองติดเชื้อเพียงอย่างเดียวก็คงไม่พอ แต่ต้องระแวดระวัง และหมั่นตรวจหาเชื้ออย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าตัวเองจะไม่ติดเชื้อ หรือนำเชื้อไปแพร่ให้กับคนใกล้ชิด  ซึ่งล่าสุดก็มีวิธีการตรวจโควิด ที่สามารถทำได้ง่ายและทำได้เองที่บ้าน อีกทั้งใช้เวลารอผลไม่นาน วันนี้ TIPINSURE จะไปทำความรู้จักกับวิธีการตรวจหาเชื้อ COVID-19 กัน

Rapid Antigen Test ตรวจโควิดเอง ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

              Rapid Antigen Test เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อ COVID-19 แบบรวดเร็วที่สามารถทำได้เองที่บ้าน และมีวิธีการตรวจโดยใช้สารคัดหลั่งเช่นเดียวกับการตรวจแบบ RT-PCR หรือ Real-time PCR (Real Time Polymerase Chain Reaction) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่สถานพยาบาลต่าง ๆ รับตรวจในปัจจุบัน โดยการตรวจด้วย Rapid Antigen Test มีวิธีดังต่อไปนี้

1.   ทำความสะอาดบริเวณที่ตรวจ ล้างมือให้สะอาด และสวมถุงมือให้เรียบร้อย หากต้องตรวจให้ผู้อื่น หรือมีผู้อื่นร่วมตรวจด้วย จะต้องใส่หน้ากากอนามัย หรือเฟซชิลด์ และควรเว้นระยะห่างในขณะตรวจเพื่อความปลอดภัย

2.   จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการตรวจให้ครบถ้วน โดยอุปกรณ์สำหรับการตรวจได้แก่ สำลีก้านสำหรับเก็บตัวอย่างสารคัดหลัง, หลอดน้ำยาตรวจ, ฝาหลอดสำหรับหยด และตัวตรวจ Antigen และเอกสารกำกับการใช้

3.   ทำการ Swab เพื่อเก็บสารคัดหลั่ง โดยใช้ไม้สำลีก้านสอดเข้าไปให้ถึงโพรงหลังจมูก จากนั้นหมุนวนทั้งหมด 5 รอบ

4.   จุ่มไม้สำลีก้านลงในหลอดน้ำยาตรวจ หมุน และบีบอย่างน้อย 5 รอบ จากนั้นนำไม้สำลีก้านออกจากหลอด แล้วปิดหลอดด้วยฝาหลอดสำหรับหยด ปล่อยทิ้งไว้ 1 นาที

5.   บีบหลอดน้ำยาลงที่เครื่องตรวจ โดยหยอดตรงจุดที่กำหนดไว้ จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วจึงเช็กผล

ทั้งนี้ในการอ่านผลการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วย Rapid Antigen Test สามารถอ่านได้ดังนี้

  • ในกรณีที่ขึ้น 2 แถบ T และ C ถือว่าผลเป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อ หรือมีซากเชื้อหลงเหลืออยู่ดังนั้นจะต้องทำการตรวจด้วยวิธี RT PCR อีกครั้งเพื่อยืนยันผล

  • ในกรณีขึ้นเฉพาะแถบ C ถือว่าผลเป็นลบ อาจไม่มีการติดเชื้อ หรือเชื้ออยู่ในระยะฟักตัว ผู้ตรวจควรทำการตรวจซ้ำภายใน 3 – 5 วันเพื่อยืนยันผล หรือเข้ารับการตรวจด้วยวิธี RT PCR อีกครั้งหนึ่ง

  • ในกรณีไม่ปรากฏแถบ C หมายถึง เครื่องตรวจเสีย ใช้งานไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเครื่องตรวจใหม่

              อย่างไรก็ตามในการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี Rapid Antigen Test เพื่อให้ได้ผลการที่ดี ควรเลือกใช้เครื่องมือตรวจที่ได้รับการรับรองจาก สำนักงานอาหารและยา (อย.) ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ชุดเครื่องมือจะมีประสิทธิภาพมากพอในการตรวจหาเชื้อ และมีความปลอดภัย

              นอกจากการตรวจ Rapid Antigen Test แล้วจะมีอีกวิธีนึงคือ RT-PCR เป็นวิธีที่ปัจจุบันใช้เป็นทางเลือกในการตรวจซ้ำสำหรับคนที่ผลเป็นบวกจากการตรวจวิธี Rapid Antigen Test ในการตรวจแบบ RT-PCR ยังเป็นการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่ใช้วิธีในการ Swab แต่ด้วยความที่จะต้องเป็นแพทย์ หรือพยาบาลเป็นผู้เก็บตัวอย่างสารคัดหลังจึงอาจรู้สึกอึดอัดที่บริเวณโพรงจมูกมากกว่าทำเอง แต่ปลอดภัยมากกว่า

              ทั้งนี้ในการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ซ้ำด้วยวิธี RT-PCR นั้น เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อด้วยการหาสารพันธุกรรมของไวรัส COVID-19 ซึ่งถ้าหากได้รับเชื้อมาแล้วจะสามารถตรวจพบได้อย่างแน่นอน โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถทราบผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง และผลการตรวจค่อนข้างแม่นยำเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่น ๆ อีกทั้งแม้ว่าจะเพิ่งได้รับเชื้อก็สามารถตรวจพบได้ทันทีอีกด้วย

Rapid Antigen Test ต่างจากการตรวจแบบ RT-PCR อย่างไร?

              การตรวจโควิดเองที่บ้านด้วยวิธี Rapid Antigen Test เป็นวิธีการรักษาที่ค่อนข้างสะดวก แต่ก็มีความแตกต่างจากการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ค่อนข้างมาก โดยวิธีการตรวจทั้ง 2 วิธีมีความแตกต่างกันดังนี้

 

 

วิธีการตรวจแบบ Rapid Antigen Test

วิธีการตรวจแบบ RT PCR

ผลการตรวจ

มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากเป็นการตรวจเบื้องต้น

ผลการตรวจแม่นยำ

ระยะเวลาในการตรวจ

ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที

ใช้เวลาในการตรวจ 10 – 30 นาที

ระยะเวลาในการรอผลตรวจ

15 นาที

24 ชั่วโมง

การตรวจซ้ำหากพบการติดเชื้อ

หากตรวจพบเชื้อต้องทำการตรวจด้วยวิธี RT PCR ซ้ำ

เข้าสู่ระบบการรักษาได้ทันที

การเว้นระยะห่างในการตรวจ

3 – 5 วัน หลังจากตรวจครั้งสุดท้าย

7 – 14 วันหลังการตรวจครั้งสุดท้าย

 

ตรวจโควิดเองเสร็จแล้ว จัดการกับเครื่องมือตรวจอย่างไร ?

              หลังจากทำการการตรวจหาเชื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ตรวจควรนำชุดตรวจที่ใช้แล้ว พร้อมกับอุปกรณ์ที่เหลือ แช่น้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วแยกใส่ถุง ปิดให้มิดชิด และทิ้งรวมกับขยะมีพิษ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ

              ในสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้หมั่นตรวจสอบอาการของตัวเองสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เสี่ยงให้ติดเชื้อ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และสำหรับใครที่ยังไม่มีประกันโควิด -19 หรือคิดว่าประกันที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ หรือครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน ที่ TIPINSURE.com ก็ยังมีประกันอีกหลายแบบที่สามารถช่วยดูแลคุณในช่วงสถานการณ์แบบนี้ได้ เพื่อให้คุณได้มั่นใจว่า คุณจะสามารถผ่านช่วงเวลานี้ไปได้อย่างไม่มีปัญหา

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

The standard, ผู้จัดการออนไลน์, กรุงเทพธุรกิจ

 

#Tag: