ตอบข้อสงสัยทำประกันสุขภาพกี่วันถึงใช้ได้
06 กรกฎาคม 2022
ผู้ชม: 236 คน

 

ตอบข้อสงสัยทำประกันสุขภาพกี่วันถึงใช้ได้

 

          ใครที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่และกำลังมองหาข้อมูลการทำประกันสุขภาพที่ดี และเหมาะสมกับตัวคุณเอง ลูกหลาน หรือพ่อแม่ ผู้ใหญ่ภายในบ้าน หากยังไม่ทราบว่าทำประกันสุขภาพกี่วันถึงใช้ได้ หรือไม่ทราบว่าจะเลือกทำแผนประกันสุขภาพอย่างไร แบบไหนถึงจะดี วันนี้บทความของเราจะมาให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันสุขภาพ ช่วยให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อแผนประกันสุขภาพได้อย่างเหมาะสมกับตัวคุณเอง และในกรณีที่คุณอาจจะรีบใช้ประกันตรงนี้จะได้ทราบด้วยว่าทำประกันสุขภาพกี่วันถึงใช้ได้จริง

 

ทำไมต้องทำประกันสุขภาพ

            ก่อนอื่นทุกคนควรทราบก่อนว่าประกันสุขภาพนั้น ต้องทำเพราะมันเป็นกรมธรรม์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ความคุ้มครองในเรื่องของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยต่างๆ ตั้งแต่เป็นโรคเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงการเป็นโรคที่เจ็บป่วยหนักจนต้องพักรักษาตัวที่สถานพยาบาล ในส่วนของรายละเอียดนั้นประกันสุขภาพที่คุณจะเลือกซื้อคุ้มครองโรคใดบ้างก็ขึ้นอยู่กับแผนสุขภาพที่จะเลือกซื้อนั่นเอง ทั้งนี้เพราะแผนประกันสุขภาพในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย ทั้งแผนที่คุ้มครองโรคเฉพาะ และแผนที่ครอบคลุมมากกว่า 1 โรค

            ดังนั้นเราอาจสรุปได้ว่าประกันสุขภาพก็ยังเป็นประเภทหนึ่งประกันที่จำเป็นจะต้องทำ ทั้งนี้เพราะโลกในปัจจุบันมีความเสี่ยงต่อการพบเจอโรคใหม่ๆ ที่ไม่คาดคิด กอปรกับสิ่งแวดล้อมทั่วไปรอบตัวเราเองอาจจะไม่ดีนัก ไม่ว่าจะฝุ่น PM ต่างๆ หรือสาเหตุอาจมาจากพฤติกรรมของตัวเราเอง เช่น นอนดึก กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ค่อยออกกำลังกาย เหตุเหล่านี้อาจนำไปสู่ผลเสียต่อสุขภาพในอนาคตได้ การทำประกันสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยให้เราเซฟงบประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษา แต่ยังได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

 

แบ่งประเภทของประกันสุขภาพได้อย่างไรบ้าง

            โดยหลักแล้ว เพื่อให้ทุกคนสามารถทำความเข้าใจได้โดยง่าย เราแบ่งประกันสุขภาพออกเป็น
 2 ประเภทหลัก ได้แก่

          1. ประกันสุขภาพส่วนบุคคล ประกันประเภทนี้เป็นกรมธรรม์ ซึ่งผู้เอาประกันสามารถเลือกซื้อตามแผนประกันที่ต้องการได้ ยกตัวอย่าง เช่น

  • แผนประกันคุ้มครอง เมื่อต้องรับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน
  • แผนประกันคุ้มครอง เมื่อต้องได้รับการผ่าตัด
  • แผนประกันคุ้มครอง เมื่อต้องอยู่ในการดูแล รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • แผนประกันคุ้มครอง เมื่อต้องรับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยนอก
    หรือไม่ได้รักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่เป็นการรักษาตัวที่คลินิก หรือสถานพยาบาลอื่น
  • แผนประกันคุ้มครอง เมื่อประสบอุบัติเหตุต่างๆ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นทุพพลภาพ
  • แผนประกันคุ้มครอง เพื่อชดเชยรายได้เป็นสินไหมทดแทน
    กรณีที่ล้มป่วย หรือมีเหตุบาดเจ็บต่างๆ แล้วไม่สามารถทำงานได้

          2. ประกันสุขภาพกลุ่ม ประกันประเภทนี้เป็นกรมธรรม์ประกันภัยแบบกลุ่มตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ในส่วนของรายละเอียดการคุ้มครองก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละบริษัทฯ ประกัน แต่โดยหลักแล้วจะออกกรมธรรม์ให้เพียงฉบับเดียว ดังนั้นจะมีผู้ถือกรมธรรม์สุขภาพกลุ่ม 1 คน ส่วนคนอื่นๆ จะได้รับเป็นหนังสือรับรองการทำประกันกลุ่ม

 

ทำประกันสุขภาพกี่วันถึงใช้ได้

          หลายคนกังวลกับคำถามนี้ค่อนข้างมาก เพราะเรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ หากเกิดเหตุเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุที่ทำให้ร่างกายบาดเจ็บขึ้นมา เราทุกคนก็ย่อมอยากจะเคลมประกันให้ได้ไวมากที่สุด สำหรับประกันสุขภาพนั้นการเคลมจะเป็นไปตามเงื่อนไขประกันที่ทุกคนเลือกซื้อ หมายความว่าแต่ละกรมธรรม์มีค่าเสียเวลาในการรอคอยที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่าง เช่น หากเจ็บป่วยทั่วไปหรือต้องได้รับการนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอาจจะต้องรอเคลมในระยะเวลา 30 วัน หากเป็นโรคร้ายต่างๆ ระยะเวลารอเคลมจะอยู่ที่ 90 - 120 วัน

          ถามว่าทำไมต้องรอการเคลม เป็นเพราะระยะเวลาเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันปัญหาจากบางคนที่ซื้อประกันเพียงเพื่อหวังจะเบิกเอาเงินทันที โดยที่ไม่ยอมไปรักษาตัวก่อนหน้า แต่มาเลือกซื้อประกันก่อน เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้การเคลมประกันสุขภาพจึงจำเป็นจะต้องมีระยะเวลาการรอคอย (Waiting Period) เกิดขึ้น

          ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าการเคลมประกันสุขภาพเป็นไปได้ง่าย สะดวก ไม่มีเงื่อนไขที่ยุ่งยาก เคลมยาก เราจึงจำเป็นจะต้องเลือกทำประกันสุขภาพกับบริษัทที่พร้อมให้บริการ โดยเน้นให้ความสะดวกกับลูกค้าเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับเราทิพยประกันภัย เรามีประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองหลากมิติ ครบ จบในที่เดียว โดยเราพร้อมจ่ายตามจริง ในวงเงินคุ้มครองสูงถึง 3 ล้านบาทต่อปี และพร้อมมอบสิทธิประโยชน์อื่นอีกมากมาย!!

          สนใจเข้ามาเช็คข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ www.TIPINSURE.com
           

 

#Tag: