พ.ร.บ. รถยนต์ คือ อะไร เตรียมตัวอย่างไรก่อนหมดอายุ
22 มิถุนายน 2022
ผู้ชม: 114 คน

 

พ.ร.บ. รถยนต์ คือ อะไร เตรียมตัวอย่างไรก่อนหมดอายุ

 

            ไม่ว่าผู้ใดที่ต้องการครอบครองทรัพย์สินประเภทยานพาหนะ จะต้องวางแผนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานพาหนะของตัวเองเอาไว้ให้ดี โดยเฉพาะยานพาหนะประเภทรถยนต์ เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับการครอบครองรถนั้นไม่ได้มีเพียงค่าดาวน์รถหรือค่าผ่อนรถให้จบไปแต่ละเดือน แต่ตลอดช่วงอายุการใช้งานของรถจะต้องจ่ายค่าเสื่อมอายุหลากหลายกรณี ด้วยเหตุนี้ท่านที่กำลังจะครอบครองรถยนต์หรือมีรถยนต์เป็นทรัพย์สินอยู่แล้วจึงต้องใส่ใจเกี่ยวกับหลักประกันต่าง ๆ เพื่อช่วยคุ้มครองรถและชีวิตของเราอยู่ทุกช่วงเวลา

              หลักประกันเบื้องต้นเป็นภาคบังคับที่เจ้าของรถยนต์ต้องมีคือ พ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่งเจ้าสิ่งนี้เป็นหลักประกันอย่างน้อยที่สุดในมือเจ้าของรถ แต่ถึงจะเป็นหลักประกันพื้นฐานที่คนใช้รถยนต์พึงมีก็ยังมีกรณีผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อย ๆ เนื่องจากความเข้าใจคลาดเคลื่อน จนเกิดปัญหาที่ว่าลืมต่ออายุบ้าง ไม่รู้จักสถานที่ต่ออายุบ้าง เข้าใจผิดเกี่ยวกับระยะการคุ้มครองบ้าง เพื่อช่วยให้เจ้าของรถกระจ่างเกี่ยวกับความคุ้มครองรถยนต์เบื้องต้น และช่วยชี้แนวทางการเตรียมพร้อมในกรณีหลงลืม เราจึงจะมาทบทวนเข้าใจกับ พ.ร.บ. รถยนต์ คือ อะไรอีกสักครั้ง

 

พ.ร.บ. รถยนต์ คือ อะไร

              พ.ร.บ. รถยนต์ คือ อะไร ทำไมจึงเป็นสิ่งแรกที่เจ้าของรถต้องทำความเข้าใจให้มากที่สุด คำตอบสำหรับคำถามนี้สังเขปแบบเข้าใจง่ายว่า เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยกำกับข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อการคมนาคมทางบกโดยเฉพาะ มีผลบังคับให้เจ้าของรถยนต์ต้องจดทะเบียนทำ พ.ร.บ. รถยนต์ กับกรมขนส่งทางบก จุดประสงค์หลักของการจดทะเบียนเพื่อจัดให้ผู้ครอบครองรถยนต์อยู่ภายใต้การคุ้มครองจากกรณีที่เกิดภัยทางรถยนต์ ในที่นี้เราว่าผู้ประสบภัยจากการใช้รถนั่นเอง มีขอบเขตการคุ้มครองชีวิตของบุคคลเป็นหลัก เป็นค่าชดเชยคนละส่วนกับกรณีที่ทรัพย์สินเกิดความเสียหาย ซึ่งเป็นประกันภัยภาคบังคับที่เจ้าของรถยนต์จะต้องรับไว้เท่านั้น

 

ความคุ้มครองที่ได้จาก พ.ร.บ. รถยนต์ คือ อะไรบ้าง

              ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเป็นประกันภัยประเภทหนึ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องมี เพราะเป็นความคุ้มครองขั้นปฐมภูมิที่ยานพาหนะของเราจะต้องได้รับตามกฎหมาย แม้จะไม่ได้มีเงื่อนไขความคุ้มครองระดับพิเศษเหมือนประกันภัย ชั้นที่หนึ่ง สอง หรือสาม แต่อย่างน้อยที่สุดหากเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถก็ยังถือสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อเรียกค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายต่อชีวิตผู้ขับขี่กับผู้โดยสารจากอุบัติภัยได้ สามารถแบ่งเกณฑ์ค่าชดเชยออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

              1. ค่าเสียหายที่จ่ายให้ในเบื้องต้น แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ

              - กรณีได้รับบาดเจ็บ ผู้ที่บาดเจ็บจากการใช้รถยนต์สามารถเรียกค่ารักษาพยาบาลได้ ซึ่งมีวงเงินรับรองขั้นต้นไม่เกิน 30,000 บาท

              - กรณีทุพพลภาพ อันเกิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์สามารถให้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายได้ โดยมีวงเงินรับรองขั้นต้นไม่เกิน 35,000 บาท (หากประเมินพบว่าพิการทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุ)

              - กรณีเสียชีวิต หากมีผู้เสียชีวิตทันทีจากอุบัติเหตุซึ่งเป็นจำนวนมากกว่า 1 คนภายใต้การคุ้มครอง จะได้รับค่าเสียหาย 35,000 บาท / 1 บุคคล แต่ถ้าเสียชีวิตหลังจากเข้ารับการรักษาจะได้รับค่าเสียหายแบบเหมาทั้งหมดในวงเงินไม่เกิน 65,000 บาท

             

              2. ค่าชดเชยที่จ่ายหลังพิสูจน์ความผิด แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

              - กรณีได้รับบาดเจ็บ หลังจากที่ผู้เสียหายเข้ารับการรักษาแล้ว จะได้รับค่าชดเชยในวงเงินไม่เกิน 80,000 บาท

              - กรณีทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต ผู้เสียหายจะได้รับค่าชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาลตามจริง 200,000 - 500,000 บาท

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีอายุกี่ปี

            ขอบเขตความคุ้มครองที่จะได้รับจาก พ.ร.บ. รถยนต์ คือ สิ่งต้องทราบแล้วหนึ่งข้อ ต่อมาที่ต้องทราบอีกก็คืออายุการคุ้มครอง หากหมดระยะไปแล้วยังไม่ต่ออายุให้ทันเวลา นอกจากจะไม่สามารถเรียกสิทธิ์การคุ้มครองยามเกิดอุบัติภัยแล้ว ยังสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนข้อกฎหมายต้องโดนระวางโทษ ทำให้เสียทั้งสิทธิประโยชน์และเสียทรัพย์โดยใช่เหตุ

              ระยะประกันภัยของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยได้กำหนดเอาไว้เป็นเวลา 1 ปี หมายความว่าเจ้าของรถจะต้องทำการต่ออายุในทันทีที่หมดระยะคุ้มครอง สำหรับผู้ที่ห่วงว่าจะต่ออายุไม่ทันเวลาสามารถทำรายการล่วงหน้าไว้ได้ 90 วัน แต่ในกรณีที่ปล่อยให้หมดระยะแล้วไม่ทำการต่ออายุจนแล้วเสร็จก็ต้องเสียค่าปรับตามระเบียบ และเลขกรมธรรม์จาก พ.ร.บ. รถยนต์ มีผลเกี่ยวเนื่องกับการเสียภาษีรถยนต์ อย่างร้ายแรงที่สุดหากปล่อยให้ขาดระยะนานถึง 3 ปี เจ้าของรถจะโดนระงับเลขทะเบียนแล้วต้องไปทำเรื่องจดทะเบียนใหม่ที่กรมขนส่งทางบก

              หากไม่อยากเสียเงินเกินเหตุ ไม่อยากเสียเวลากับเรื่องกวนใจในเวลาสำคัญ เมื่อรู้ตัวว่าถึงเวลาต่ออายุพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว ควรเตรียมเอกสารสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนรถหรือเล่มจริงเอาไว้ให้พร้อม หากไม่สะดวกไปต่อแถวที่จุดให้บริการก็สามารถต่ออายุผ่านระบบออนไลน์ได้

 

สรุป

            การทบทวนสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักประกันภัยของรถครั้งนี้คงทำให้เจ้าของรถยนต์เข้าใจว่า

            พ.ร.บ. รถยนต์ คือ อะไร มีความสำคัญต่อการใช้รถใช้ถนนของตนเองอย่างไรมากขึ้น แม้จะเป็นประกันภัยที่คุ้มครองเฉพาะชีวิตของบุคคลไม่ได้ชดเชยค่าเสียหายของทรัพย์สิน แต่อย่างน้อยก็ถือว่ายังมีความคุ้มครองให้อุ่นใจเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และที่สำคัญเป็นประกันภัยที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูกก็ให้ความคุ้มครองทันที จึงเป็นผลดีต่อชีวิตของผู้ใช้รถอย่างมาก

              สำหรับใครที่ต้องการซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถซื้อออนไลน์ได้แล้ว ราคาเริ่มต้น 569 บาทเท่านั้น! คลิก

#Tag: