รู้ก่อนใคร อัปเดต 2566 ต่อพรบรถยนต์กี่บาท ต้องทำอย่างไรบ้าง
เจ้าของรถหลาย ๆ คนที่ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ กันอยู่ทุก ๆ ปี อาจไม่เคยสนใจกันอย่างจริงจังว่า จริง ๆ แล้ว พ.ร.บ.รถ มีความสำคัญต่อการขับขี่รถยนต์อย่างไร เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง บางคนอาจรู้แค่เพียงว่าต้องต่อ พ.ร.บ. ทุกปี พร้อม ๆ กับต่อเล่มทะเบียนรถยนต์ วันนี้เราจะมาดูกันว่า ในแต่ละปีรถยนต์แต่ละคันจะต้องมีค่าต่อพรบรถยนต์กี่บาทกันแน่ ไปต่อ พ.ร.บ. ที่ไหน หากไม่ต่อ พ.ร.บ.จะสามารถใช้รถได้หรือไม่ กับรู้ก่อนใคร อัปเดต 2566 ต่อพรบรถยนต์กี่บาท ต้องทำอย่างไรบ้าง
เหตุผลที่ต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ทุก ๆ ปี
กฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้กำหนดเอาไว้ว่า เจ้าของรถยนต์ทุกคันที่มีชื่อในสมุดเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือผู้ครอบครองรถ มีหน้าที่ต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นประจำทุก ๆ ปี หากกรณีฝ่าฝืนไม่ได้ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีความผิดเป็นโทษปรับ และมีผลต่อเนื่องทำให้ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ หรือป้ายภาษีประจำปีได้ หรือหากไปชำระภายหลัง หรือชำระล่าช้าเกินกำหนด ก็จะมีภาระที่ต้องเสียค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน อีกด้วยเช่นกัน และหากพ.ร.บ.รถยนต์ ขาดต่อกัน 3 ปี ก็จะส่งผลให้เลขทะเบียนรถถูกระงับไปด้วย กลายเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องไปจดทะเบียนรถใหม่ที่กรมขนส่งทางบก รวมทั้งต้องยื่นชำระภาษีคงค้างย้อนหลังพร้อมเสียค่าปรับ จึงจะสามารถใช้รถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เอกสารที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์
สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีคือ พ.ร.บ.รถยนต์ โดย พ.ร.บ.รถ จะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อ พ.ร.บ.ล่วงหน้าได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 90 วัน สำหรับการต่อภาษีรถยนต์หรือทะเบียนรถ โดยต้องเตรียมเอกสารสำคัญ ดังนี้
1. สมุดคู่มือเล่มทะเบียนรถยนต์ตัวจริง หรือสำเนา ก็ได้
2. พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
3. สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีขึ้นไป ต้องนำรถไปตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชน หรือ ตรอ. ก่อน เพื่อนำหนังสือรับรองมาใช้เป็นหลักฐานต่อภาษี โดย ตรอ.จะเปิดให้บริการอยู่ทั่วประเทศ
ต่อพรบรถยนต์กี่บาท
อัตราค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถยนต์ เช่น รถยนต์ รถกระบะ รถบรรทุก ฯลฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ประเภทรถยนต์โดยสาร
- รถยนต์เก๋ง ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 600 บาท
- รถตู้ จำนวน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 1,100 บาท
- รถโดยสาร เกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 2,050 บาท
- รถโดยสาร เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 3,200 บาท
2. ประเภทรถกระบะ - รถบรรทุก
- รถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 900 บาท
- รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 1,220 บาท
- รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 1,310 บาท
3. รถประเภทอื่น ๆ
- รถลากรถพ่วง รถหัวลากจูง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 2,370 บาท
- รถพ่วง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 600 บาท
- รถยนต์ใช้ในการเกษตร ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 90 บาท
การซื้อ พ.ร.บ. สามารถซื้อได้หลายช่องทาง เช่น กรมขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) หรือจุดบริการเคาน์เตอร์ เซอร์วิส แต่ปัจจุบันมีช่องทางที่สามารถซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยสามารถซื้อได้ที่ TIPINSURE ที่ให้ราคาดีกว่าใคร ไม่ว่าจะซื้อหรือต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ราคาก็เท่ากัน โดยราคา พ.ร.บ.รถยนต์ เริ่มต้นเพียง 569 บาทเท่านั้น
ขั้นตอนการซื้อ พ.ร.บ.ออนไลน์กับ TIPINSURE
มีเพียง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ซื้อได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก และรวดเร็ว จบง่ายภายใน 3 นาที ดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ TIPINSURE กรอกรายละเอียดรถยนต์
- เลือกแพ็กเกจ พ.ร.บ.
- สรุปข้อมูล และชำระเงินผ่านช่องทางที่กำหนด ชำระได้ทั้งบัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือสแกนจ่ายผ่าน QR Code ช่องทางต่าง ๆ หลังชำระเงินเรียบร้อยแล้ว สามารถรอรับกรมธรรม์ทางอีเมลได้ทันที