ทำ พ.ร.บ. ออนไลน์ ใครว่ายุ่งยาก ทำง่ายแค่ 3 ขั้นตอน ภายใน 3 นาที
จะขับขี่รถมี พ.ร.บ.หรือยัง ? นอกจากไปทำใบขับขี่ก็มี ทำ พ.ร.บ. รถ นี่แหละที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อนชอบเพราะต้องใช้เวลาใด บางครั้งต่อคิวเสียเวลาไปเกือบทั้งวัน จะดีกว่าไหมถ้าเราทำ ทำพ.ร.บ.ออนไลน์ ได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองแล้ว ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทีนี้ก็มีเวลาไปทำอย่างอื่นสักที !!!
แต่ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า พ.ร.บ. คืออะไร “พ.ร.บ. รถยนต์" คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคัน ต้องทำประกัน โดยกฎหมายกำหนดให้ ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยประเภทนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่ว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด และคุ้มครองให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเพราะเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะกรณีบาดเจ็บ หรือช่วย ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต”
หลังจากที่ได้รู้คร่าว ๆ กันไปแล้วว่าการทำ พ.ร.บ. ค่อนข้างสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ขับขี่รถ เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถ เพียงทำพ.ร.บ.รถยนต์ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้รับความคุ้มครองทันที
ทำพ.ร.บ. ออนไลน์ กับ ทิพยประกันภัย
ทำพ.ร.บ. ออนไลน์ กับ ทิพยประกันภัยมีดีกว่าที่คิด เพราะเราช่วยดูแลความปลอดภัยในการใช้รถ และพร้อมให้ความคุ้มครองทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทำ พ.ร.บ. รถ ไว้อุ่นใจแน่นอน !!!
- ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีทุพพลภาพสิ้นเชิง (สูญเสียมือ แขน เท้า ตั้งแต่ 1 ข้าง ถึง 2 ช้าง สายตา 1 ข้าง หรือ 2 ข้าง หรือตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป) ชดเชยสูงสุด 500,000 บาท
- ทุพพลภาพถาวร (กรณีสูญเสียมือ แขน เท้า หรือสายตา 1 ข้าง กรณีใดกรณีหนึ่ง สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่าจะนิ้วเดียว หรืออหลายนิ้ว หูหนวก เป็นใบ้สูญเสียความสามารถในการพูด การสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือสูญเสียอวัยวะอื่นใดที่กระทบต่อการดำรงชีวิต) ชดเชยสูงสุด 300,000 บาท
- ชดเชยรายวัน กรณีเข้ารักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) ชดเชยสูงสุด 200 บาท/วัน ไม่เกิน 20 วัน
ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุอย่างไร จะได้รับการดูแลและการชดเชยในอัตราตามที่กฎหมายกำหนด
ทำพ.ร.บ. ออนไลน์ ดียังไง ?
ยุคนี้อะไร ๆ ก็สามารถทำผ่านออนไลน์ได้แล้ว เพราะสะดวก และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิต รวดเร็ว สะดวก ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องไปยืนต่อคิวให้เสียเวลา พร้อมรอรับกรมธรรมม์สบาย ๆ ได้ที่บ้าน
ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ กับทิพยประกันภัย มีรถให้เลือกครบถึง 3 ประเภท ได้แก่
- รถเก๋ง ราคา 569 บาท
- รถกระบะ ราคา 869 บาท
- รถตู้ ราคา 1,069 บาท
ทำพ.ร.บ. ออนไลน์ แค่ 3 ขั้นตอน ภายใน 3 นาที
ทำพ.ร.บ. ออนไลน์ กับทิพยประกันภัย เน้นทำง่าย ไม่ยุ่งยาก แค่ 3 ขั้นตอน ภายใน 3 นาที เท่านั้น ไปดูกันว่าต้องทำแบบไหนบ้าง ?
1. กรอกข้อมูลเบื้องต้น
2. เลือกแผน พ.ร.บ.
3. กรอกข้อมูลส่วนตัวและรถยนต์
หลังจากกรอกข้อมูลทั้ง 3 ขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว แล้วอย่าลืมชำระเงิน สามารถเลือกวิธีชำระได้ถึง 4 ช่องทาง ตามที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็นผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต, สแกน QR Code, Rabbit LINE Pay หรือ ShopeePay
หลังจากนั้นทิพยประกันภัย จะมี E-policy ให้ลูกค้าทันทีทาง E-mail หลังจากชำระเงินเรียบร้อย ลูกค้าสามารถนำรายละเอียดจากกรมธรรม์ไปต่อภาษีรถยนต์ได้ทันที จบอย่างรวดเร็ว ครบกระบวนการ ไม่ต้องเสียเวลา
การยื่นต่อภาษีรถยนต์
เมื่อทำพ.ร.บ. ออนไลน์ หลังจากที่ได้รับ E-policy ทาง E-mail สามารถนำไปต่อภาษีออนไลน์กับเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก ได้ที่ https://eservice.dlt.go.th/ เพียง 5 ขั้นตอนเท่านั้น ไปทำพร้อมกันเลย !!!!
1. เข้าสู่เว็บไซต์ หากไม่เคยใช้บริการมาก่อนให้ทำการ “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่”
2. เข้าสู่ระบบ (Login) และไปที่เมนู บริการ และเลือก “ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต”
3. หากมีรถยนต์ที่จดทะเบียนเป็นชื่อของคุณเอง ระบบจะแสดงรายละเอียดให้อัตโนมัติ แต่ถ้าไม่มีข้อมูลแสดง ให้ทำการกรอกข้อมูลค้นหาและทำการลงทะเบียนรถ จากนั้นเลือกรถที่ต้องการต่อภาษีแล้ว กด “ยื่นชำระภาษี”
4. กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัย เลขที่กรมธรรม์ และวันสิ้นสุดอายุความคุ้มครอง (วันสิ้นอายุความคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ยื่นชำระภาษีถึงวันสิ้นอายุคุ้มครองของ พ.ร.บ.) โดยสามารถดูได้จาก E-policy ที่ทางทิพยประกันภัยส่งให้ทาง E-mail
5. กรอกข้อมูลที่อยู่และเลือกช่องทางการชำระเงิน โดยหลังจากชำระเงินแล้วไม่เกิน 7 วันทำการ กรมขนส่งจะจัดส่งป้ายสี่เหลี่ยมแสดงการชำระภาษีทางไปรษณีย์
ทำพ.ร.บ. ออนไลน์ กับทิพยประกันภัย ไม่มากเรื่อง สะดวก รวดเร็ว หากสนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือทำพ.ร.บ. ออนไลน์ กับทิพยประกันภัย คลิกเลย!